
สะพานฟัน Dental Bridge
สะพานฟันคือฟันเทียมชนิดติดแน่นแบบซี่เดียว ใช้ทดแทนฟันที่สูญหายไปและเป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างฟันซี่ข้างเคียง ฟันที่อยู่ข้างๆ ฟันที่เสียไปจะเรียกว่าฟันหลักและฟันที่ทดแทนจะเรียกว่าฟันตัวลอย (Pontic) มีลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติ ไม่มีตะขอ ไม่มีแผ่นเหงือกปลอม สะพานฟันจะช่วยให้ยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง อีกทั้งยังช่วยให้สามารถเคี้ยวอาหาร พูด และวางตำแหน่งของขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นๆ เคลื่อนออกจากตำแหน่ง หรือล้มลง
ประเภทของสะพานฟัน

สะพานฟันแบบธรรมดา
นิยมมากที่สุด วัสดุจะทำจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก ครอบฟันทำขึ้นสำหรับฟันทั้งสองข้างของฟันที่หายไป โดยจะมีช่องว่างระหว่างฟันทั้งสองซี่

สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
มักใช้ในคนไข้ที่ไม่มีฟันข้างใดข้างหนึ่งของฟันที่หายไป มีฟันซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการเกาะยึดสะพานฟัน โดยจะติดฟันลอยเข้าไปที่ปลายของฟันหลัก

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
เป็นสะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน มักเป็นทางเลือกใช้ทดแทนสะพานฟันแบบธรรมดา สะพานฟันประเภทนี้จะมีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีก ที่จะใช้ยึดติดด้านหลังของฟันด้านข้าง
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน

สะพานฟันแบบโลหะเคลือบด้วยเซรามิก
มีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ มักจะใช้สำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว

สะพานฟันแบบเซรามิกล้วน
มีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ มักจะใช้ในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งครอบฟันแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ

สะพานฟันแบบโลหะล้วน (ทอง)
มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่น หรือแตกเหมือนวัสดุเซรามิก
ประโยชน์ของการทำสะพานฟัน
01. ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงามดังเดิม
02. การบดเคี้ยวและการออกเสียงสามารถใช้ได้ดีดังเดิม
03. รักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
04. กระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ
05. หลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
06. หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
07. รักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
08. รักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ
ขั้นตอนการทำสะพานฟัน
01. ตรวจวินิจฉัยและเตรียมฟัน
02. ฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
03. กรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน
04. จดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
05. พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
06. แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแล็บเพื่อทำสะพานฟัน
07. ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร
ขั้นตอนการติดสะพานฟัน
01. รื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
02. ติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน ตรวจเช็คและปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด
ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งหลังการติดยึดสะพานฟันใน 24 ชั่วโมง
สามารถหลีกเลี่ยงการบวมหรืออาการต่างๆ ได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
ดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
รับประทานอาหารอ่อนๆ จนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟัน
วิธีการดูแลหลังเข้ารับการทำสะพานฟัน
01. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
02. ทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
03. บ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
04. ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณสะพานฟัน
05. ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน